สนาม:หมอดีออนไลน์
บทนำ:นอกจากในเครื่องของเราแล้ว ถ้าเราได้ทำการใช้ network drive ต่าง ๆ (การแชร์แฟ้มผ่านเครือข่าย) CryptoLocker ก็จะเข้ารหัสแฟ้มในเครือข่ายของเราด้วย เมื่อทำการเข้ารหัสเสร็จสิ้นในเวลาไม่กี่ชั่วโมง CryptoLocker ก็จะแสดงหน้าจอบอกเราว่า แฟ้มงานของท่านโดนเรายึดเรียบร้อยแล้ว ถ้าอยากได้แฟ้มเหล่านั้นคืน ก็ต้องจ่ายเงินให้ผู้ร้ายที่เป็นคนสร้าง CryptoLocker เสียก่อนภายใน 72 ชั่วโมง ไม่เช่นนั้น ผู้ร้ายก็จะทำลายกุญแจสำหรับถอดรหัสที่เก็บไว้ทิ้ง ทำให้เราไม่สามารถใช้งานแฟ้มที่ถูกเข้ารหัสได้อีกตลอดไป แต่ถ้าจ่ายเงินให้แล้ว กุญแจสำหรับถอดรหัสก็จะถูกส่งมา และ CryptoLocker ก็จะทำการถอดรหัสแฟ้มต่าง ๆ ให้เราฟังดูง่าย ๆ ใช่หรือเปล่าครับ จริง ๆ มัลแวร์ประเภทเรียกค่าไถ่นี้มีมานานแล้ว โดยจะถูกเรียกว่า Ransomware หรือโปรแกรมเรียกค่าไถ่นั่นเอง สิ่งที่ทำให้ CryptoLocker นั้นแตกต่างจาก Ransomware ตัวอื่น ๆ ประกอบด้วยไอเดียสำคัญสองเรื่องครับ โดยไอเดียทั้งสองเรื่องนั้นทำให้ CryptoLocker นั้นประสบความสำเร็จสูงมากในการเรียกค่าไถ่ เรื่องแรกเป็นประเด็นทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งก็คือการใช้เทคนิคที่เรียกว่า public-key cryptography ในการเข้ารหัส ซึ่งทำให้แฟ้มที่ถูกเข้ารหัสนั้นถอดรหัสได้ยากมาก ๆ มากจนถึงขั้นที่เรียกว่าไม่สามารถทำได้ในทางปฏิบัติเลยทีเดียว แต่กลับทำให้ผู้ร้ายสามารถบริหารจัดการการเข้ารหัสถอดรหัสได้อย่างง่ายดาย ตัวอย่างเช่น เราอาจจะคิดว่า เราก็แค่ไปขอข้อมูลการถอดรหัสจากคนที่เคยจ่ายค่าไถ่ไปแล้ว เราก็น่าจะเอาข้อมูลนั้นมาช่วยในการถอดรหัสแฟ้มของเรา ก็ได้ แต่การใช้ public-key cryptography ...
ลิงค์ที่เป็นมิตรเวลาปัจจุบัน:2021-02-27